บทที่
3
ระบบโครงสร้างอาคารสูงประเภทต่าง
ๆ
ความสูงของอาคารในแต่ละระดับจะมีการออกแบบที่แตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ในการออกแบบจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการรองรับผลของแรงกระทำในแนวราบและแรงที่กระทำในแนวดิ่ง ซึ่งแรงกระทำในแนวดิ่งคือ น้ำหนักที่เกิดจาก
เสา ผนัง กำแพง ของแต่ละชั้นและจะมีความผันแปรไปตามสัดส่วนของความสูงอาคาร
ส่วนแรงกระทำทางด้านข้างเกิดจากแรงที่กระทำโดยลมหรือแรงที่เกิดจะการเกิดแผ่นดินไหว
เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักของอาคารที่ใช้สำหรับรับแรงกระทำในแนวดิ่งและแนวราบ
จะพบว่าอาคารที่มีความสูงต่ำถึงปานกลาง ผลของแรงกระทำในแนวราบจะมีผลน้อยมากๆ
ซึ่งการเลือกใช้ระบบในการก่อสร้าง โครงสร้างสมควรจะสอดคล้องกับระดับความสูงของอาคารเพราะจะช่วยในการลดน้ำหนักของโครงสร้างอาคาร
3.1
ประเภทระบบโครงสร้างอาคารสูง
3.1.1 Rigid Frame (โครงข้อแข็ง) เป็นระบบโครงสร้างที่เหมาะสำหรับอาคารที่สูงประมาณ
20-30 ชั้น
ถ้าอาคารที่มีความสูงมากกว่านี้ทำให้ใช้วัสดุเปลืองมากเพราะไม่เหมาะกับระบบนี้ส่งผลให้น้ำหนักของตัวอาคารเพิ่มมากขึ้น
ในกรณีที่องค์อาคารในแนวราบเป็นระบบพื้นไร้คาน (Flat plate) พฤติกรรมของโครงข้อแข็งจะเข้าใกล้พฤติกรรมของผนังรับแรงเฉือน
กล่าวคือเสาจะมีลักษณะเป็นเสายืนจะมีผลให้เกิดระยะโก่งในแนวราบสูงกว่าโครงสร้างระบบพื้นและคานทั่วไป
ภาพที่
3.1.1 Rigid frame ที่มา : ทักษิณ เทพชาตรี. (2553) |
3.1.2 Shear wall (ผนังรับแรงเฉือน) เป็นระบบโครงสร้างที่เหมาะสำหรับอาคารที่สูง
30-40 ชั้น
เป็นระบบที่ใช้กำแพงในแต่ละชั้นช่วยในการรับแรงที่เกิดจากแนวดิ่งและแนวราบ
ภาพที่
3.1.2
Shear wall structure ที่มา : ทักษิณ เทพชาตรี. (2553) |
3.1.3 Frame + Shear wall (โครงข้อแข็ง
+ ผนังรับแรงเฉือน) เป็นระบบโครงสร้างที่เหมาะสำหรับอาคารสูงประมาณ
40-50 ชั้น โดยโครงข้อแข็งอย่างเดียวจะมีพฤติกรรมในการรับแรงด้านข้างจากแรงเฉือน (Shear mode) ในขณะที่ระบบผนังรับแรงเฉือนอย่างเดียว
จะมีพฤติกรรมเป็นการรับแรงดัด (Bending mode) เมื่อรวมทั้งสองระบบเข้าด้วยกันจะพบว่าเกิดแรงที่ผิวของแต่ละระนาบโดยส่วนบนของอาคารจะเกิดแรงผลักในโครงข้อแข็ง
ขณะเดียวกันจะเกิดแรงดึงกลับในผนังรับแรงเฉือน ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมาส่งผลให้ระยะการโก่งตัวในแนวระนาบของโครงสร้างรวมมีค่าลดลง
ภาพที่
3.1.3
Frame + Shear wall
ที่มา : ทักษิณ เทพชาตรี. (2553) |
ภาพที่
3.1.3
Frame + Shear wall (ต่อ) ที่มา : ทักษิณ เทพชาตรี. (2553) |
3.1.4
Belt Truss Outrigger
เป็นระบบโครงสร้างที่สามารถใช้กับอาคารสูงประมาณ 60 ชั้น โดยระบบนี้จะมี โครงถักที่ยื่นออกมาจาก core ถึงเสาตัวนอกจะทำหน้าที่ถ่ายแรงในแนวดิ่งจาก core ไปยังเสาตัวนอกทำให้โครงสร้างมีพฤติกรรมเป็นแบบ cantilever tube-in-tube
ซึ่งส่งผลให้การโก่งตัวในแนวราบและโมเมนต์ที่
core ลดลงเป็นอย่างมาก
และข้อดีระบบนี้อีกอย่างคือเราสามารถเพิ่มโครงถักได้ตามต้องการโดยตำแหน่งที่เพิ่มโครงถัก
ค่าโมเมนต์ใน core
จะลดลงทุกครั้ง
ภาพที่ 3.1.4 Belt Truss Outriggers ที่มา : ทักษิณ เทพชาตรี. (2553) |
3.1.5
Framed Tube
เป็นระบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพกับอาคารสูงในระดับ 80-90 ชั้น
ลักษณะโครงสร้างประกอบด้วยเสารอบนอกที่อยู่ชิดกันโดยปกติจะห่างไม่เกิน 5 เมตร
และมีคานยึดเสารอบนอกแต่ละตัวเข้าด้วยกัน คานจะมีความลึกประมาร 1 เมตร
เสาและคานรอบนอกดังกล่าวทำให้โครงอาคารมีพฤติกรรมรับแรงด้านข้างในลักษณะกล่อง
และระบบนี้ผนังรอบนอกมีช่องเปิดดังนั้นการกระจายของแรงตลอดความยาวตามขอบอาคารจึงไม่เป็นเส้นตรงเป็นผลเนื่องจาก shear leg
ภาพที่
3.1.5
Frame Tube.
ที่มา : ทักษิณ เทพชาตรี. (2553) |
3.1.6
Truss Tube เป็นระบบโครงสร้างที่ใช้กับอาคารสูงในระดับ 100
ชั้น เป็นการเสริมโครงถักบริเวณรอบนอกอาคารช่วยให้แรงกระจายได้สม่ำเสมอ
มีผลทำให้โครงสร้างสามาระรับแรงด้านข้างได้ขึ้น
เป็นการประหยัดและสามารถลดค่าระยะโก่งในแนวราบให้อยู่ในค่าที่กำหนดอีกด้วย
ภาพที่
3.1.6
Truss Tube ที่มา : ทักษิณ เทพชาตรี. (2553) |
3.1.7
Bundled Tube เป็นระบบโครงสร้างที่ใช้ได้ดีกับอาคารสูงกว่า
100 ชั้นขึ้นไประบบนี้มีการกระจายแรงที่อยู่ตามขอบอาคารมีค่าค่อนข้างสม่ำเสมอลักษณะเป็นกล่องเหมือน Framed Tube
พฤติกรรมในการรับแรงจะมีลักษณะที่คล้ายกัน
Sears Tower, Chicago, lllinois
Bundled Tube ที่มา : ทักษิณ เทพชาตรี. (2553) |
3.2 ประเภทของระบบโครงสร้างเหล็กและคอนกรีต
ระบบโครงสร้างของอาคารสูงไม่ว่าจะก่อสร้างด้วยเหล็ก
คอนกรีต หรือโครงสร้างองค์ประกอบก็ตาม โดยปกติจะประกอบขึ้นจากระบบโครงสร้างย่อยๆ (Sub-system) หรือส่วนประกอบโครงสร้าง
เช่นระบบพื้น ระบบต้านทานแรงในแนวดิ่ง ระบบต้านทานแรงในแนวราบ
และระบบกระจายพลังงานที่เกิดขึ้นในโครงสร้างให้หมดไปหรือเบาบางลง
จนไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง
แต่อย่างไรก็ตามทุกระบบในโครงสร้างจะต้องทำงานร่วมกันต่อเนื่องเป็นส่วนเดียวกันในลักษณะสามมิติหรือทุกทิศทาง
จากการสำรวจอาคารสูงในประเทศต่างๆพบว่า
ระบบโครงสร้างที่นิยมใช้กันมากถ้าพิจารณาในแง่ของความสูงเป็นหลักเพียงอย่างเดียวจะได้ว่า (Khan 1974)
1.
อาคารโครงสร้างเหล็ก (ภาพที่ 3.2.1 )
2.
อาคารโครงสร้างคอนกรีต (ภาพที่ 3.2.2 )
ระบบพื้นอาคารโดยทั่วไปจะประกอบด้วย แผ่นพื้น ตง คาน หรือคานซอย
เป็นส่วนประกอบโครงสร้าง
ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุกโดยตรงและมีหน้าที่รับแรงกระทำต่างๆในแนวราบด้วย
เพื่อถ่ายสู่เสา คาน หรือ Shear wall
ต่อไป
ภาพที่
3.2.2
ระบบโครงสร้างคอนกรีตที่ใช้ในอาคารสำนักงาน (Khan, 1974) ที่มา : Ibid., p. 5. |
ภาพที่
3.2.3
ระบบโครงสร้างที่มีความสูงถึง 70 ชั้นอาคาร ที่มา : Council on Tall Buildings & Urban Habitat. Developments in Tall Buildings 1983 (New York: Van Nostrand Reinhold Company, 1983), p. 44. |
ภาพที่
3.2.4
เปรียบเทียบระบบโครงสร้างอาคารสูงชนิดต่าง ๆ
ที่มา : The
Steel Construction Institute. Architecture and Construction is Steel (London:
E&FN SPON, 1993), p, 261.
|
ภาพที่ 3.2.5
ระบบโครงสร้างในผังของอาคารสูง (The structure in plane)
ที่มา
: Schuller Wolfgang. The Vertical Building
Structure (New York: Van Nostrand Reinhold, 1990), p. 92.
|
รูปที่ 3.2.6 พัฒนาการของโครงสร้างส่วนฐานอาคารสูง เพื่อให้ความรู้สึกว่าตัวอาคารมีความอิสระ หรือหลุดลอยจากพื้นดิน ที่มา : Ibid., p. 107. |
3.3 ระบบพื้นที่นิยมใช้กับอาคารสูง
3.3.1
ระบบพื้นคอนกรีต
1.
แผ่นพื้นท้องเรียบหนาเท่ากันตลอด (Slab of uniform thickness)
พื้นชนิดนี้อาจออกแบบให้เสริมเหล็กรับแรงเป็นระบบพื้นทางเดียว
หรือระบบพื้น 2 ทางก็ได้ เช่น
Flat slab Flat plate ความหนาของพื้นที่ใช้กับอาคารสูงประมาณ 100 -
250 มม. ช่วงพาดประมาณ 3 - 8 ม.
ข้อได้เปรียบ ความลึกของพื้นน้อยมาก
จึงทำให้ความสูงของชั้นอาคารลดลงด้วย
สามารถปรับให้เหมาะสมกับตำแหน่งเสาที่ไม่ลงตัว หรือรูปร่างอาคารที่พิเศษออกไปได้
ข้อเสียเปรียบ มีน้ำหนักมาก ทำให้พาดช่วงได้ไม่กว้างนัก
มีการโก่งตัวมาก ถ้าพาดช่วงกว้างควรเป็นระบบพื้นอัดแรง
การใช้งาน
เหมาะกับอาคารประเภทโรงแรม อพาร์ทเมนต์
2.
พื้นประกอบด้วยตงหรือคานซอยคอนกรีต
(Concrete
joist structure)
อาจเป็นระบบตงวิ่งทางเดียวที่เรียกว่า Pan joist (หากหล่อในที่) หรือระบบตงวิ่ง
2 ทาง ที่เรียกว่า Waffle slab ระบบตงวิ่งทางเดียวเหมาะสำหรับใช้กับชิ้นส่วนหล่อสำเร็จ
แต่ระบบตงวิ่ง 2 ทางจะใช้ระบบหล่อมาตรฐาน (ภาพที่ 3.3.1.2) ในประเทศอังกฤษ
Waffle slab ลึกประมาณ 300 - 500 มม. (12, 16, 20 นิ้ว) ใช้กับช่วงพาดระหว่าง 6 – 16 ม. ส่วนพื้นตงทางเดียว
ความลึก 200 – 500 มม. พาดช่วงระหว่าง 4.5 - 13.5 ม. ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ระบบหล่อในที่มีความลึกระหว่าง 150 – 610 มม. และระบบหล่อสำเร็จ มีความลึกระหว่าง
510 มม. – 1 ม. ใช้พาดระหว่าง 8 – 14 ม.
แต่อาจจะใช้พาดได้เพิ่มขึ้นกว่า 50% ถ้าใช้ตงหรือคานซอยที่มีการอัดแรงภายหลัง
ข้อได้เปรียบ เหมาะกับช่วงพาดขนาดกลางและใหญ่ มีช่องสำหรับเดินท่อได้
มีน้ำหนักเบาแต่พื้นมีความแข็งมาก
สามารถใช้เป็นส่วนประกอบทางโครงสร้างที่รับแรงกระทำทางด้านข้างได้ดี
ข้อเสียเปรียบ ไม่เหมาะกับอาคารที่มีจุดรองรับที่ไม่ลงตัวตามระบบ หรือผังพื้นที่มีรูปร่างผิดปกติและความกว้างของช่วงเสาไม่คงที่
บางกรณีจะมีปัญหาเรื่องการเจาะช่องเปิดขนาดใหญ่
การใช้งาน ใช้กับอาคารสำนักงาน
หรืออาคารพาณิชยกรรม
ภาพที่ 3.3.1.1
|
พื้น
Flat slab
(a) ชนิดท้องเรียบเท่ากันตลอด
รองรับด้วยเสา (Flat
plate)
(b) ชนิดมีหัวเสา (Capital)
ภาพที่ 3.3.1.2
พื้นคอนกรีตระบบ 2 ทาง (Two – way systems)
(a) พื้นแผ่นเรียบรองรับด้วยคานหรือผนังรับน้ำหนัก
(b) Waffle slab รองรับด้วยเสา
(c) Two – way joist (Ribbed slab)
|
ภาพที่ 3.3.1.3
ระบบพื้นที่ใช้ตงเหล็กหรือคานเหล็ก
|
1.
ระบบคาน (Beam and slab system)
ประกอบด้วยพื้น ค.ส.ล. หนา 100 – 180 มม. รองรับด้วยคาน
วางห่างกันระหว่าง 3 – 8 ม. ความลึกคานจะไม่น้อยกว่า 1/5 ถึง 1/20 ของช่วงพาด
อาจแก้ปัญหาเรื่องความลึกของคานได้โดยใช้ลวดดึงภายหลังหรือใช้ร่วมกับพื้นสำเร็จรูป
ข้อได้เปรียบ เป็นระบบพาดช่วงกว้างและน้ำหนักเบา สามารถเปิดช่องกว้างๆได้
เช่น ช่องลิฟต์ ช่องบันได
ข้อเสียเปรียบ มีความลึกคานมาก เปลืองค่าไม้แบบเพราะขนาดไม่ได้มาตรฐาน
แต่สามารถปรับใช้กับอาคารที่มีรูปแบบหรือตำแหน่งเสาผิดปกติได้
การใช้งาน ใช้ได้ทั้งอาคารสานักงาน อพาร์ทเมนต์ พาณิชยกรรม
1.3.2
ระบบพื้นโครงเหล็ก (ภาพที่ 3.3.1.3, 3.3.2.1 – 3.2.2.3)
1.
พื้นแผ่นดินเผา (Ceramic slab)
เป็นระบบที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณในงานวัสดุก่อสร้าง
ประกอบด้วยแผ่นอิฐหรือดินเผา วางเรียงอยู่บนตงเหล็กรูปตัวที ตัวไอ
หรือเหล็กปีกกว้าง ซึ่งมีระยะห่างระหว่าง 0.9 – 120 ม. แล้วมีคอนกรีตเททับหน้าบางครั้งอาจมี่การเสริมเหล็กก็ได้
ระบบนี้ปัจจุบันในประเทศไทยเรานิยมใช้คอนกรีตบล็อกร่วมกับคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวที
แทนอิฐหรือดินเผากลวง ข้อดีของระบบนี้คือพื้นมีน้ำหนักเบามาก
เก็บเสียงได้ดีถ้าใช้อิฐกลวง
ไม่ต้องใช้เครื่องจักรในการยกแต่ไม่นิยมใช้ในงานอาคารสูง เพราะ
รับน้ำหนักได้ไม่มาก
2.
พื้น
คอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) หล่อในที่วางบนตงเหล็ก (ภาพที่ 3.3.2.1)
ปกติพื้นจะมีความหนาเท่ากันตลอด
โดยอาจวางไว้บนปีกของเหล็กปีกกว้าง หรืออาจใช้คอนกรีตหุ้มตงเหล็กให้รับแรงร่วมกัน
และช่วยกันป้องกันไฟกันสนิมก็ได้ ถ้าออกแบบในลักษณะพื้นองค์ประกอบอาจช่วยลดความหนาของแผ่นพื้นได้
อาจหนา 1/30 – 1/15 ของช่วงพาด แบบหล่อพื้นต้องออกแบบให้ถอดออกไปใช้ซ้ำๆกันได้อีก
ข้อได้เปรียบ มีความแข็งแรงมาก รับแรงได้ดีทั้งแนวดิ่งและแนวราบ
ไม่ต้องเสริมเหล็กมาก ปรับใช้ได้กับช่วงเสาหลายขนาด หรือแบบแปลนที่ยุ่งยาก
เจาะช่องเปิดได้ง่าย
ข้อเสียเปรียบ เสียเวลาและแรงงานในการตั้งแบบมาก
หล่อคอนกรีตและบ่มคอนกรีตนานขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ
ยุ่งยากในการประสานงานเหล็กกับคอนกรีตเข้าด้วยกัน
3.
พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast concrete slab)
แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปวางบนคอนเหล็ก
ซึ่งวางห่างกัน 1.2 – 9 ม. อาจวางในลักษณะ Simple Beam หรือยึดติดกับคานเพื่อให้เกิด Composite
action เช่น มี Shear stud หรือใช้
High tensile bolt แผ่นพื้นจะมีผลิตหลายรูปแบบ เช่น แผ่นพื้นกลวง
รูปตัวที รูปตัวยู ฯลฯ
ภาพที่ 3.3.2.1
ระบบคานและพื้น (Beam and slab systems) หรือระบบตง (คานซอย)
|
ภาพที่ 3.3.2.2
แผ่นเหล็กขึ้นรูปชนิดต่าง ๆ
ที่นิยมใช้ทำพื้น (Corrugated
sheet plates)
|
ข้อได้เปรียบ ลดแรงงานในสถานที่ก่อสร้าง ติดตั้งได้รวดเร็ว
และสามารถติดตั้งได้ทุกสภาพอากาศ ไม่ต้องเสียค่าแบบหล่อหรือโครงค้ำยันมาก
ข้อเสียเปรียบ ไม่เหมาะกับช่วงพาดที่แตกต่างกันมาก
หรืออาคารที่มีตำแหน่งเสาผิดปกติ อาจมีปัญหาเรื่องการเจาะช่องเปิด นิยมใช้กับอาคารจอดรถ
ภาพที่ 3.3.2.3
พื้นคอนกรีตที่รองรับด้วยแผ่นเหล็กขึ้นรูป |
ภาพที่ 3.3.2.4
โครงสร้างองค์ประกอบ (Composite Structure)
ชนิดต่าง ๆ
|
4.
ระบบพื้นแผ่นเหล็กขึ้นรูป
(Metal deck)
(รูป 3.3.2.3, 3.3.2.4)
พื้นชนิดนี้จะวางแผ่นเหล็กขึ้นรูปบนคาน แล้วเทคอนกรีตทับข้างบน อาจเสริมเหล็กเพิ่มความแข็งแรงได้ตามต้องการ
แผ่นเหล็กทำหน้าที่เป็นแบบถาวร รับน้ำหนักหรือออกแบบให้รับแรงร่วมกับคอนกรีตก็ได้
แผ่นเหล็กยึดติดกับคานเหล็กโดยใช้
Tack welds, Gunned pins, หรือ Welded studs แผ่นเหล็กขึ้นรูปที่ใช้กันทั่วไปมี
3 แบบคือ
1. แผ่นพับลอนใหญ่ มีความลึกมาก
ใช้เป็นโครงสร้างความหนา 0.6 – 1.5 มม.ความลึก 100 – 200 มม. พาดช่วงได้ถึง 6 ม.
2. แผ่นเหล็กลอนลูกฟูก มีความหนา 0.6 -
1.5 มม. ความลึก 40 – 80 มม. พาดช่วง 1 – 4 ม.
3. แผ่นเรียบ
มีร่องสำหรับเสริมเหล็กเพิ่มความแข็งแรง
ข้อได้เปรียบ สะดวกในการติดตั้งร่วมกับงานโครงสร้างเหล็กได้ดี
เป็นแบบและพื้นสำหรับทำงานชั่วคราวได้ ในต่างประเทศนิยมใช้กับอาคารสูงมาก
ข้อเสียเปรียบ ราคาแพงกว่าระบบอื่นๆ ต้องกันไฟและสนิทที่ผิวล่าง
3.4
ระบบตงและคานเหล็กที่นิยมใช้กับอาคารสูง มี 6 ประเภท
1. คานเหล็กรูปพรรณโครงสร้าง (Rolled joists)
ใช้กันทั่วไปแต่ไม่เหมาะกับช่วงพาดขนาดใหญ่ เพราะความลึกคานน้อย
2. แผ่นเหล็กเชื่อมรูปตัวไอ (Welded I section plate girders) ใช้พาดช่วงกว้างได้ดีและประหยัด
แต่จะลึกมากถ้าจะเจาะช่องเปิดกลางคานต้องมีการเสริมแรงหรือเพิ่มความหนาของปีกคาน
3. โครงถัก นิยมใช้เหล็กรูปตัดง่ายๆ (Lattice girders)
เช่น ท่อประกอบเป็นรูปสามเหลี่ยมเหมาะกับช่วงพาดกว้างๆ
โครงสร้างสามารถออกแบบให้มีความลึกมากได้
4. คาน (Vierendeel)
ใช้สำหรับคานขนาดใหญ่ที่ต้องการช่องเปิดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความลึกมาก
เป็นระบบคานที่มีราคาแพง เพราะเกิดโมเมนต์ดัดในโครงสร้างมากกว่าคานโครงถักรูปสามเหลี่ยม
ปกติจะมีความลึก 1 – 2 ชั้นอาคาร
5. Stub girder
เป็นระบบที่ต้องการลดน้ำหนักของวัสดุลง
และรวมโครงสร้างพื้นเข้ากับระบบอุปกรณ์อาคารโดยประกอบขึ้นจากมีคานรองรับพื้นเป็นช่วงสั้นๆประมาณ
1.5 – 2 ม. ซึ่งเท่ากับช่องว่างระหว่าง Stub
แต่ละตัวทำให้เกิดการรับแรงร่วมกันระหว่างตัวมันเอง
6. Staggered truss
เป็นคานขนาดใหญ่ลึก 1 ชั้นของอาคาร
เพื่อถ่ายน้ำหนักของผนังและพื้นชั้นบนทั้งหมดลงสู่เสาชั้นล่างซึ่งมีช่วงพาดกว้างมากเป็นพิเศษ
Staggered truss มักใช้กับอาคารที่มีผนังภายในถาวร เช่น โรงแรมและอพาร์ทเมนต์
เพื่อซ่อนโครงสร้างไว้ในผนังไม่ให้เกะกะเนื้อที่ใช้สอย
3.5
ระบบโครงสร้างต้านทานแรงในแนวดิ่ง (ภาพที่ 3.5.1)
เป็นองค์ประกอบของอาคารซึ่งทำหน้าที่หลักรองรับโครงสร้างพื้น
ได้แก่ เสา ผนังรับน้ำหนัก โครงแขวน
อย่างไรก็ตามอาจมีบางโครงสร้างที่รับทั้งแรงแนวดิ่งและแรงแนวราบด้วย เช่น
ปล่องลิฟต์และบันได ผนังรับแรงลม หรือโครงแข็งเกร็ง
1. เสา (Columns) เป็นองค์ประกอบอาคารทางแนวตั้งที่รับน้ำหนักโครงสร้างพื้นโดยตรง
วัสดุที่ใช้ทำเสาในอาคารสูงใช้ได้แทบทุกชนิด ได้แก่ คอนกรีตเสริมเหล็ก, เหล็ก,
และเสาประกอบ (Composite)
2. ผนังรับน้ำหนัก (Bearing wall) เป็นผนังทางตั้งมีช่องเปิดน้อยๆเพราะทำหน้าที่รับน้ำหนักพื้นหรือหลังคา
และเป็นผนังกั้นห้องด้วย ซึ่งอาจใช้วัสดุต่างๆ เช่น เหล็ก ค.ส.ล.
3. โครงแขวน (Hangers)
ทำหน้าที่รับแรงดึง โดยอาจแขวนห้อยจากคานซึ่งยื่นออกจากปล่องลิฟต์ (Core) พื้นแต่ละชั้นจะถ่ายน้ำหนักลงสู่โครงแขวน โดยอาจเป็นลวดท่อนเหล็ก
เหล็กรูปตัวไอ สายเคเบิล หรือเป็นคอนกรีตอัดแรงก็ได้ เช่น
ใช้สายเคเบิลแขวนระหว่างปล่องลิฟต์สองข้างคล้ายๆสะพานเพื่อรับน้ำหนักพื้นชั้นต่างๆ
ซึ่งลอยอยู่เหนือพื้นดิน (ภาพที่ 3.5.1)
ภาพที่ 3.5.1
แสดงโครงสร้างต้านทานแรงในแนวดิ่ง (เสา ผนังรับน้ำหนัก และโครงแขวน) |
ภาพที่ 3.4.1
แสดงโครงสร้างต้านทานแรงในแนวดิ่ง
(เสา ผนังรับน้ำหนัก และโครงแขวน) (ต่อ)
|
3.6
ระบบโครงสร้างต้านทานแรงในแนวราบ (ภาพที่ 3.6.1)
ภาพที่ 3.6.1
|
โครงสร้างใช้ต้านทานแรงในแนวราบ
(แรงลม)
1. Moment resistance frame
2. Shear wall
3. Braced frame
ตารางที่ 3.6.1
ตารางใช้ในการคำนวณแรงลม (Wind Load)
ในประเทศไทย (ตามกฎหมาย)
ภาพที่ 3.6.2
ค่าของแรงลมในประเทศไทย (ตามกฎหมาย) |
ภาพที่ 3.6.3
ค่าของแรงลมในประเทศสหรัฐอเมริกา (ตามกฎหมาย)
ที่มา
: Schuller, Wolfgang. The Vertical Building
Structure
(New York: Van Nostrand Reinhold, 1990), p. 191.
|
แรงในแนวราบที่สำคัญที่สุดคือแรงลมและแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
อาคารยิ่งสูงมากก็ต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบให้สามารถต้านทานแรงทั้งสองให้มากขึ้นด้วย
องค์ประกอบโครงสร้างที่รับแรงในแนวราบพื้นฐานจะมี 3 ชนิด คือ
1. โครงสร้างต้านทานโมเมนต์ (Moment resistant frames)
ประกอบด้วยโครงในแนวราบคือคาน และแนวดิ่งคือเสา
ซึ่งต่อกันแบบแข็งเกร็ง หรือกึ่งแข็งเกร็ง
ความแข็งแรงของโครงสร้างเป็นสัดส่วนโดยตรงกับขนาดของเสาและคาน
และยังเป็นสัดส่วนผกผันกับความสูงของชั้นอาคาร และความกว้างของช่วงเสา
ตำแหน่งของโครงต้านทานโมเมนต์
โดยปกติจะวางไว้ที่ผนังด้านนอกอาคารเพราะสามารถออกแบบให้มีเสาถี่และคานลึกๆได้
ถ้านำไปไว้ในอาคารก็ยังสามารถได้เช่นกันแต่อาจจะมีปัญหาเรื่องความลึกของคาน
และโดยปกติอาคารสูงต้องการเนื้อที่ใช้สอยภายในกว้างๆ ไม่สามารถวางช่วงเสาแคบๆได้
โครงสร้างต้านทานโมเมนต์มีด้วยกันหลายลักษณะ ได้แก่
-
โครงสร้างคอนกรีตหล่อในที่
ทั่วไปมี 3 แบบ คือ โครงสร้างคานและเสา แผ่นพื้นไร้คาน
และพื้นคอนกรีตกับผนังรับน้ำหนัก เนื่องจากหล่อในที่การทำรอยต่อจึงแข็งแรง
สามารถเสริมเหล็กต่อเนื่องในเสาและคานได้ ระบบนี้นิยมใช้กับอาคารสูงปานกลางขึ้นไป
-
โครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป
อาจหล่อชิ้นส่วนเสาและคานแยกออกจากกันแล้วเอามาต่อกัน
โดยใช้วิธีการเชื่อมแผ่นเหล็กที่ฝังเตรียมไว้ก่อน
หรือต่อเหล็กเสริมเข้าด้วยกันแล้วหล่อคอนกรีตปิดอาจใช้ปูนทรายชนิดแห้งอุดรอยต่อ
ชิ้นส่วนที่หล่อสำเร็จอาจเสริมเหล็กแบบปกติหรือทำการอัดแรงก็ได้
-
โครงเหล็ก
คานและเสาอาจประกอบขึ้นจากเหล็กรูปพรรณโครงสร้างชนิดต่างๆกัน เช่น
เหล็กปีกกว้างเหล็กรางน้ำ หรือรูปตัด แผ่นเหล็กประกอบ โครงถัก
สมัยก่อนการทำรอยต่อระหว่างเสาและคานใช้วิธีเชื่อม หรือสลักเกลียว หมุดย้ำ
แต่ในปัจจุบันนิยมใช้วิธีการเชื่อมหรือยึดด้วย “High Tension Bolt” บางครั้งก็ทำเป็นโครงสำเร็จรูปมีเสาสูงหนึ่งชั้นหรือหลายๆชั้นเชื่อมติดกับคานไว้เลย
วิธีนี้ทำให้สามารถทำรอยต่อในจุดที่มีโมเมนต์เกิดขึ้นน้อยสุดได้โดยใช้วิธียึดสลักเกลียวตามปกติ
ส่วนการยึดระหว่างเสาและคาน
อาจเชื่อมจากโรงงานซึ่งจะมีผลให้ช่วงกว้างของโครงสร้างยาวได้ไม่มาก
โครงสร้างระบบนี้จึงมีเสาถี่ แต่การติดตั้งจะสะดวกเพราะมีค้ำยันในตัวมันเอง
-
โครงต้านทานโมเมนต์องค์ประกอบ อาจประกอบด้วยคานเหล็กยึดติดกับเสาคอนกรีต
หรือคานคอนกรีตยึดติดกับเสาเหล็ก แต่อย่างไรก็ตามคำว่าองค์ประกอบโดยปกติ หมายถึง
โครงสร้างซึ่งเสาหรือคานอาจจะทั้งสองอย่างประกอบขึ้นจากวัสดุต่างชนิดกัน เช่น
เหล็กกับคอนกรีต (ภาพที่ 3.3.2.3, 3.3.2.4)
-
เสาองค์ประกอบ
อาจจะเป็น คอนกรีตหุ้มเสาเหล็ก หรือคอนกรีตหล่อบรรจุอยู่ในเสาเหล็กกลวง (ภาพที่ 3.3.2.4)
ในกรณีที่คอนกรีตหล่อบรรจุในเสาเหล็กกลวงจะรับแรงตามศูนย์ได้ดีขึ้น
แต่มีผลต่อ Flexural capacity
น้อยมากจึงอาจเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ไม่นิยมใช้เป็นโครงต้านทานโมเมนต์ดัด
คานองค์ประกอบ
ประกอบด้วย คานหุ้มด้วยคอนกรีต หรือคานเหล็กยึดด้วยพื้นคอนกรีตโดยมี Shear
Connection คานเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีตช่วยกันไฟและกันสนิม
รูปตัดคานเหล็กที่อยู่ในคอนกรีตถ้ากลางคานมีช่องกลวงความแข็งแรงของคานอาจคำนวณให้คานเหล็กทำหน้าที่เป็นเหล็กเสริมของคอนกรีตก็ได้
ข้อเสียเปรียบของคานประเภทนี้ คือ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาก
ไม่สัมพันธ์กับความแข็งแรงซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยมาก
คานเหล็กองค์ประกอบที่ใช้กันบ่อยคือการใช้ Shear connection
จะเพิ่มกำลังและความแข็งของคานได้มากขึ้น
ภาพที่ 3.6.4
ตำแหน่งของ Core shear wall |
ภาพที่ 3.6.5
Steel plate shear wall |
ภาพที่ 3.6.6
Tube structural systems
1. Braced
2. Framed
3. Shear wall
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น